ไฟฟ้ารั่ว อันตรายที่เกิดขึ้นได้ ตอนน้ำท่วมฉับพลัน แล้วต้องทำอย่างไร หากเจอปัญหาเหล่านี้
เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว การที่จะพิสูจน์ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่นั้น ห้ามเอาหน้ามือสัมผัส เพราะโดยธรรมชาติของคนเมื่อโดนไฟฟ้าดูดก็จะกำมือลง ร่างกายจะหดตัวกำแน่น ทางที่ดีควรใช้หลังมือสัมผัส
ถ้าจะนำมาใช้ควรจะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าอยู่ในสภาพที่ยังใช้การได้อยู่หรือไม่ สิ่งแรกต้องทำให้แห้งก่อนที่จะเสียบปลั๊ก หากไม่แน่ใจควรให้ช่างผู้ชำนาญมาตรวจสอบก่อน แต่ถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นเกิดความเสียหายมาก
ก็ไม่ควรเสี่ยงที่จะนำมาใช้งาน
หากจะเสียบปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ต้องมั่นใจว่าร่างกายแห้งสนิทไม่เปียกชื้น บริเวณเต้ารับควรดูแลรักษาให้แห้งอยู่เสมอ หากไม่แน่ใจก่อนเสียบปลั๊กก็ควรสวมรองเท้า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
ด้วยความระมัดระวัง และไม่ประมาท
ควรมีการป้องกันไม่ไปสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าที่รั่วและห้ามใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่โดนน้ำท่วมมาแล้ว ถ้าบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อไฟฟ้ารั่วหรือมีโอกาสเกิดไฟรั่วได้ง่ายควรติดตัวเบรกเกอร์ป้องกันไว้ก่อน
ไฟฟ้ารั่ว ไม่ควรจะไปสัมผัสร่างกายผู้เคราะห์ร้ายโดยตรง ควรหาฉนวน เชือกแห้ง เสื้อแห้ง ๆ ดึง หรือ ผลักออกไป และสิ่งสำคัญควรรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่เหมาะสม
ไฟฟ้ารั่ว อันตรายเป็นอย่างมาก หากไฟฟ้ารั่ว กรณีเกิดน้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง ยิ่งอันตรายอย่างยิ่ง สิ่งที่ควรทำเพื่อความปลอดภัยในชีวิต มีดังนี้
ความแตกต่างของ ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต
อย่างแรก ไฟรั่ว ไฟดูด เป็นไฟที่รั่วออกจากสายไฟหรือโครงโลหะของอุปกรณ์ที่มีความชำรุดแล้วดูดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งต่างจากไฟช็อต หรือที่เรียกว่า ไฟฟ้าลัดวงจร ที่มีสาเหตุจากตัวนำทองแดงภายในฉนวนของสายไฟมีการแตะถึงกัน ซึ่งกระแสไฟฟ้าลัดวงจรนั้นจะช็อตไหลลัดไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยมีความรุนแรงและมีปริมาณกระแสที่สูงมาก เป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยได้ เบรกเกอร์หรือฟิวส์จะเป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ตัดไฟฟ้าลัดวงจรที่สูงเกินค่านั้นออกจากวงจรเพื่อความปลอดภัย
หากพิจารณาแล้วว่ามีโอกาสที่น้ำจะท่วมเข้าบ้าน ให้เตรียมป้องกันกระแสไฟฟ้าขัดข้องด้วยการขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ไปไว้ที่ปลอดภัยหรือที่สูงที่น้ำจะท่วมไม่ถึงเสียก่อน รวมถึงอย่าลืมปิดเมนสวิตช์ในกรณีที่จะอพยพไปอยู่ที่อื่น
หากเป็นบ้านชั้นเดียว งดใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเด็ดขาด รวมไปถึงสวิตช์ไฟทั้งด้านในและด้านนอกบ้านก็ควรปิดการใช้งานไปก่อน โดยเฉพาะปลั๊กไฟที่น้ำท่วมยิ่งห้ามใช้งานเด็ดขาด
กรณีเป็นบ้านสองชั้น ที่มีสวิตช์แยกชั้น สามารถปิดสวิตช์เฉพาะชั้นล่างที่น้ำกำลังจะท่วมได้ เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าเฉพาะบางพื้นที่
งดสัมผัสสวิตช์และใช้ไฟฟ้า ขณะที่ตัวเปียกหรือโดนน้ำเด็ดขาด
ถ้าน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านที่น้ำท่วม ควรใช้ไฟฟ้าเฉพาะชั้นบนเท่านั้น ซึ่งแนะนำว่าให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือช่างไฟฟ้าที่เชี่ยวชาญระบบไฟฟ้ามาปลดสวิตช์ชั้นล่างให้ เพื่อความปลอดภัย พร้อมปรึกษาเจ้าหน้าที่เพื่อแยกวงจรชั้นบนและชั้นล่าง
ข้อสำคัญในการป้องกันกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ควรอยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า รวมถึงระบบจำหน่ายไฟในพื้นที่น้ำท่วมอย่างน้อย 2-3 เมตร นอกจากนี้หากพบเห็นสายไฟฟ้าขาด เสาไฟฟ้าล้ม และสายไฟฟ้าขาดแช่น้ำ ไม่ควรเข้าใกล้เด็ดขาด แต่ให้รีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ เพื่อดำเนินการแก้ไขทันที
หลังน้ำท่วมเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้เรียบร้อยปลอดภัยก่อนเปิดใช้งาน เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอาจไม่อยู่ในสภาพเดิมหลังจากที่น้ำท่วม ดังนั้น จึงควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้ามาตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า สวิตช์ ปลั๊ก เพื่อแก้ไข/ซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยเสียก่อน เพื่อป้องกันเหตุกระแสไฟฟ้าขัดข้องและอันตรายจากไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นได้
ที่มา…เดลินิวส์/ศราวุธ ดีหมื่นไวย์/ศรัณญา ดำรงพิริยะพงศ์/เวป ธรรมจักร.เน็ต
ติดตามข่าวสารดีๆ และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปั๊มน้ำ KIKAWA เพิ่มเติมได้ที่:
🔵 Facebook: Kikawa Thailand ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ปั๊มน้ำเสียงเงียบ ปั๊มน้ำบ้าน
🌐 Website: www.kikawathailand.com
🟢 Line ID: @crgroupthailand
📱 Call Center: 02-026-6280