June 28, 2024
อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่า ปั๊มบ้าน เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญอีกหนึ่งสิ่งของบ้าน เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องทำงานร่วมกับน้ำอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การติดตั้งปั๊มบ้าน ควรมีความปลอดภัยแบบ 100% เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งกับตัวปั๊มบ้าน รวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆ ภายในบ้าน ดังนั้น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญอีกหนึ่งเรื่อง เมื่อมีการติดตั้งปั๊มบ้าน ก็คือ การติดตั้งสายติดและเบรกเกอร์ครับ การติดตั้งปั๊มบ้าน ต้องมาพร้อมกับความปลอดภัยเสมอ ดังนั้น เมื่อต้องการติดตั้งปั๊มบ้าน ควรติดตั้งเบรกเกอร์ ที่มีขนาดตามมาตรฐานของปั๊มบ้านแต่ละรุ่นกำหนดไว้ รวมทั้งต้องมีระบบสายดินเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่วด้วยครับ KIKAWA ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเสมอ จึงขอนำข้อมูลเกี่ยวกับสายดินและเบรกเกอร์ มาให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจ และไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับอุปกรณ์เหล่านี้ เมื่อมีการติดตั้งปั๊มบ้านของท่านครับ เรามาเริ่มกันที่เบรกเกอร์กันก่อนเลยนะครับ เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้าแบบไม่อัตโนมัติ ใช้สำหรับป้องกันความเสียหายของเครื่องใช้ไฟฟ้า มีไว้เพื่อป้องกันไฟรั่วไฟดูดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด ซึ่งเบรกเกอร์มีให้เลือกใช้งานหลากหลายประเภท ทั้งเบรกเกอร์ขนาดเล็กที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายไฟให้กับเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งเบรกเกอร์แต่ละประเภทจะมีพิกัดแรงดันไฟฟ้าและคุณสมบัติการทำงานที่แตกต่างกันไป ดังนั้น จึงควรเลือกใช้รุ่นที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ประเภทของเบรกเกอร์ที่เหมาะสำหรับปั๊มบ้าน คือ เบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB : Miniature Circuit Breaker) ที่มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 แอมป์ (A) ส่วนใหญ่ใช้ภายในบ้านพักอาศัย ติดตั้งภายในตู้ Consumer หรือ ตู้ Load Center นั่นเองครับ หากเราต้องการทราบว่า เมื่อมีการติดตั้งปั๊มบ้าน เบรกเกอร์กี่แอมป์ล่ะ? ที่เหมาะกับการใช้งานสำหรับปั๊มบ้านของเรา KIKAWA มีวิธีการดูโหลดของปั๊มบ้าน และการคำนวณพิกัดกระแสของเบรกเกอร์ มาแนะนำทุกท่านครับ ขั้นตอนแรก วิธีการดูโหลดของปั๊มบ้าน เพื่อคำนวณพิกัดกระแสของเบรกเกอร์ ให้ดูจากข้อมูลพื้นฐานของปั๊มบ้าน ดังนี้ เมื่อเราทราบข้อมูลโหลดของปั๊มบ้าน 2 ส่วนนี้แล้ว ในขั้นตอนต่อไป จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการคำนวณหาค่าพิกัดกระแสของเบรกเกอร์ ตามสูตรข้างล่างนี้เลยครับ หมายเหตุ : เมื่อเบรกเกอร์ มีการใช้งานตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป จะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงเหลือประมาณ 75-80% เราจึงจำเป็นต้องมีการเผื่อค่าการทนกระแสไฟฟ้าของเบรกเกอร์ในส่วนที่หายไปด้วย โดยเผื่อค่ากระแสไฟฟ้าก่อนใช้งานที่ 125% หรือ 1.25 นั่นคือเหตุผลที่เราจะต้องนำข้อมูลส่วนนี้มาคำนวณในสูตรด้วยครับ เมื่อเราคำนวณหาค่าพิกัดกระแสของเบรกเกอร์ได้แล้วนั้น ก็จะสามารถนำค่าที่หาได้ ไปเลือกซื้อเบรกเกอร์ที่มีค่าใกล้เคียงกับจำนวนแอมป์ตามท้องตลาดได้เลยครับ ⚠️ข้อควรระวัง: เบรกเกอร์ไม่ควรต่ำกว่าค่าที่หาได้หรือไม่ควรสูงกว่ามากเกินไป เพียงเท่านี้..คุณก็จะสามารถเลือกซื้อเบรกเกอร์ให้เหมฟาะกับปั๊มบ้านของคุณได้แล้วล่ะครับ อย่าลืมนะครับ หากท่านกำลังเตรียมการติดตั้งปั๊มบ้าน ควรมีชุดเบรกเกอร์ควบคุมปั๊มบ้านต่างหาก 1 ชุด เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการซ่อมบำรุงในภายหลังครับ เรามาต่อกันที่สายดินกันเลยนะครับ แม้ไฟฟ้าจะให้ประโยชน์แก่เรามากมาย แต่อันตรายจากการใช้ไฟฟ้าสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเช่นกัน ดังนั้น การติดตั้งสายดิน มีไว้เพื่อเสริมความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดไฟรั่วลงบนโครงเครื่องใช้ไฟฟ้า กระแสไฟที่รั่วออกมาจะใช้สายดิน เป็นเส้นทางในการไหลลงดิน แทนที่จะไหลผ่านร่างกายของมนุษย์ ในกรณีที่เผลอไปสัมผัส ซึ่งสายดินจะทำงานได้โดยสมบูรณ์ ปลายสายด้านหนึ่งของสายดินต้องมีการต่อลงดินด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า ส่วนปลายสายอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับพื้นผิวหรือโครงเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนที่มีการเข้าถึงและสัมผัสได้ตรง และสายดินไม่เพียงแค่ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ถูกไฟฟ้าดูดเท่านั้น บางกรณีสายดินยังมีส่วนช่วยจัดการกับสัญญาณรบกวนได้อีกด้วยครับ ⚡️ เครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทที่ต้องมีสายดิน เราจะเรียกเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ว่าเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าที่มีโครงหรือเปลือกหุ้มเป็นโลหะ ซึ่งบุคคลมีโอกาสสัมผัสได้ต้องมีสายดิน เช่น ตู้เย็น, เตารีด, เครื่องซักผ้า, หม้อหุงข้าว, เครื่องปรับอากาศ, เตาไมโครเวฟ, กระทะไฟฟ้า, กระติกน้ำร้อน, เครื่องทำน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น, เครื่องปิ้งขนมปัง ปั๊มน้ำทุกประเภท รวมถึงเครื่องมือช่างบางชนิด เป็นต้น ⚡️ เครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทที่ไม่ต้องมีสายดิน เราจะเรียกเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ว่าเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานในระดับแรงดันต่ำกว่า […]