
เกร็ดความรู้
November 29, 2013
เครื่องใช้ไฟฟ้า ปัจจุบันมีเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดที่มีคุณสมบัติทนต่อน้ำท่วม โดยจะมีค่าาตรฐานสากล สังเกตได้จากรหัส IP ที่ติดไว้ด้านข้างเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยแสดงด้วยตัวเลขสองหลัก ทำความรู้จัก IP Code มาตรฐานกันน้ำและกันฝุ่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะมี IP Code แจ้งข้อมูลส่วนนี้อยู่บนฉลากข้างเรือนปั๊ม ซึ่ง IP Code (Ingress Protection Code) คือ มาตรฐานกันน้ำและกันฝุ่น หรือที่เรียกว่า IP rating คือมาตรฐานที่บอกถึงระดับการป้องกันฝุ่นและน้ำของเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้า การบอกถึงระดับมาตรฐานการป้องกันหลักๆ จะบอกด้วยตัวเลขสองหลักที่ตามหลังตัวอักษร I และ P เช่น IP แล้วตามด้วยตัวเลย xx โดยตัวเลขหลักแรกหมายถึง ระดับการป้องกันของฝุ่นซึ่งมีระดับ 0 ถึง 6 ส่วนหลักที่สองหมายถึง ระดับการป้องกันของน้ำ ซึ้งมีระดับตั้งแต่ 0 ถึง 9 ความหมายของตัวเลข IP ความหมายของตัวเลขหลักแรก ตัวเลขหลักแรกเป็น 0 หมายถึง ไม่มีการป้องกันใดๆได้เลย ตัวเลขหลักแรกเป็น 1 หมายถึง มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 มม. ขึ้นไป ตัวเลขหลักแรกเป็น 2 หมายถึง มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 12 มม. ขึ้นไป ตัวเลขหลักแรกเป็น 3 หมายถึง มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.5 มม. ขึ้นไป ตัวเลขหลักแรกเป็น 4 หมายถึง มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มม. ตัวเลขหลักแรกเป็น 5 หมายถึง มีการป้องกันจากฝุ่นผงละออง แต่ต้องเป็นฝุ่นละอองของสารที่ไม่ทำให้เกิดอันตราย* ตัวเลขหลักแรกเป็น 6 หมายถึง มีการป้องกันจากฝุ่นผงละอองของสารที่อาจทำให้เกิดการกัดกร่อน หรือเป็นอันตรายได้ ความหมายของตัวเลขหลักที่ 2 ตัวเลขหลักที่ 2 เป็น 0 หมายถึง ไม่มีการป้องกันจากของเหลวใดๆได้เลย ตัวเลขหลักที่ 2 เป็น 1 หมายถึง มีการป้องกันจากหยดน้ำที่หยดลงมาในแนวดิ่ง ตัวเลขหลักที่ 2 เป็น 2 หมายถึง มีการป้องกันจากหยดน้ำที่หยดลงกระทบทำมุม 15 องศาจากแนวดิ่ง ตัวเลขหลักที่ 2 เป็น 3 หมายถึง มีการป้องกันจากน้ำฝนที่ตกกระทบทำมุม 60 องศาจากแนวดิ่ง ตัวเลขหลักที่ 2 เป็น 4 หมายถึง มีการป้องกันจากน้ำได้รอบทุกทิศทาง ตัวเลขหลักที่ 2 เป็น 5 หมายถึง มีการป้องกันจากสายน้ำ (jet water) ได้รอบทุกทิศทาง* ตัวเลขหลักที่ 2 เป็น 6 หมายถึง มีการป้องกันจากสายน้ำ (jet water) ที่มีแรงคล้ายๆกับน้ำทะเล ตัวเลขหลักที่ 2 […]
November 29, 2013
ไฟฟ้ารั่ว อันตรายที่เกิดขึ้นได้ ตอนน้ำท่วมฉับพลัน แล้วต้องทำอย่างไร หากเจอปัญหาเหล่านี้ อันดับแรกให้รีบสับสวิตช์ลง เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว การที่จะพิสูจน์ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่นั้น ห้ามเอาหน้ามือสัมผัส เพราะโดยธรรมชาติของคนเมื่อโดนไฟฟ้าดูดก็จะกำมือลง ร่างกายจะหดตัวกำแน่น ทางที่ดีควรใช้หลังมือสัมผัส อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลังโดนน้ำท่วม ถ้าจะนำมาใช้ควรจะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าอยู่ในสภาพที่ยังใช้การได้อยู่หรือไม่ สิ่งแรกต้องทำให้แห้งก่อนที่จะเสียบปลั๊ก หากไม่แน่ใจควรให้ช่างผู้ชำนาญมาตรวจสอบก่อน แต่ถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นเกิดความเสียหายมากก็ไม่ควรเสี่ยงที่จะนำมาใช้งาน วิธีป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดไฟฟ้าดูด หากจะเสียบปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ต้องมั่นใจว่าร่างกายแห้งสนิทไม่เปียกชื้น บริเวณเต้ารับควรดูแลรักษาให้แห้งอยู่เสมอ หากไม่แน่ใจก่อนเสียบปลั๊กก็ควรสวมรองเท้า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆด้วยความระมัดระวัง และไม่ประมาท ก่อนเกิดเหตุ ควรมีการป้องกันไม่ไปสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าที่รั่วและห้ามใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่โดนน้ำท่วมมาแล้ว ถ้าบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อไฟฟ้ารั่วหรือมีโอกาสเกิดไฟรั่วได้ง่ายควรติดตัวเบรกเกอร์ป้องกันไว้ก่อน ระหว่างที่เกิดเหตุบุคคลที่มาช่วย ไฟฟ้ารั่ว ไม่ควรจะไปสัมผัสร่างกายผู้เคราะห์ร้ายโดยตรง ควรหาฉนวน เชือกแห้ง เสื้อแห้ง ๆ ดึง หรือ ผลักออกไป และสิ่งสำคัญควรรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่เหมาะสม ไฟฟ้ารั่ว อันตรายเป็นอย่างมาก หากไฟฟ้ารั่ว กรณีเกิดน้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง ยิ่งอันตรายอย่างยิ่ง สิ่งที่ควรทำเพื่อความปลอดภัยในชีวิต มีดังนี้ ก่อนน้ำท่วม เข้าภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน ให้รีบขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้า และสิ่งของจำเป็นไว้ที่สูง หรือที่ปลอดภัยน้ำท่วมไม่ถึง กรณีเป็นบ้านสองชั้น และมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น หากน้ำกำลังจะท่วมชั้นล่าง ให้ปลดสวิตช์ตัดกระแสไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง กรณีน้ำท่วมขัง เป็นเวลานาน และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชั้นบน โดยให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ด้านระบบไฟฟ้าปลดสวิตช์ที่ชั้นล่าง ให้เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือช่างไฟฟ้า เพื่อแยกวงจรชั้นบนและชั้นล่าง กรณีบ้านชั้นเดียว ให้งดใช้ไฟฟ้าโดยเด็ดขาด งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด รวมถึงห้ามเปิดปิดสวิตช์ไฟด้านใน และด้านนอกอาคารที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะตัวเปียกหรือยืนแช่น้ำ แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้น อาจอยู่เหนือระดับน้ำ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ปลั๊กไฟที่น้ำท่วมห้ามใช้งานเด็ดขาด ควรอยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า หรือระบบจำหน่ายในพื้นที่น้ำท่วม อย่างน้อย 2-3 เมตร เพื่อความปลอดภัย หากพบเห็นสายไฟฟ้าขาด หรือเสาไฟฟ้าล้ม หรือสายไฟฟ้าขาดแช่น้ำ อย่าเข้าใกล้หรือสัมผัส ให้รีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในพื้นที่หรือสายด่วน PEA โทร.1129 เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการแก้ไข พบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้า หรือตัวนำที่เป็นเหตุ ให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด จนได้รับอันตรายไปด้วย ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยางหรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วผลัก หรือฉุดตัวผู้ประสบอันตราย ให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือใช้ผ้าคล้อง หรือให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าปลดสวิตช์ จากนั้นปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนนำส่งโรงพยาบาล หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง ให้หลีกเลี่ยง และรีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในพื้นที่หรือสายด่วน ความแตกต่างของ ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต อย่างแรก ไฟรั่ว ไฟดูด เป็นไฟที่รั่วออกจากสายไฟหรือโครงโลหะของอุปกรณ์ที่มีความชำรุดแล้วดูดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งต่างจากไฟช็อต หรือที่เรียกว่า ไฟฟ้าลัดวงจร ที่มีสาเหตุจากตัวนำทองแดงภายในฉนวนของสายไฟมีการแตะถึงกัน ซึ่งกระแสไฟฟ้าลัดวงจรนั้นจะช็อตไหลลัดไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยมีความรุนแรงและมีปริมาณกระแสที่สูงมาก เป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยได้ เบรกเกอร์หรือฟิวส์จะเป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ตัดไฟฟ้าลัดวงจรที่สูงเกินค่านั้นออกจากวงจรเพื่อความปลอดภัย ไฟฟ้ารั่ว ช่วงฝนตก อันตรายมาก หากฝนตกหนักจนเกิดเหตุน้ำท่วม อาจนำมาสู่กระแสไฟฟ้าขัดข้องตามบ้านเรือน แล้วจะสามารถใช้ไฟต่อได้ไหม ควรทำอย่างไรให้ปลอดภัย ป้องกันกระแสไฟฟ้าขัดข้อง เตรียมรับมือก่อนน้ำท่วม หากพิจารณาแล้วว่ามีโอกาสที่น้ำจะท่วมเข้าบ้าน ให้เตรียมป้องกันกระแสไฟฟ้าขัดข้องด้วยการขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ไปไว้ที่ปลอดภัยหรือที่สูงที่น้ำจะท่วมไม่ถึงเสียก่อน รวมถึงอย่าลืมปิดเมนสวิตช์ในกรณีที่จะอพยพไปอยู่ที่อื่น ขณะเผชิญน้ำท่วมขัง ควรทำอย่างไรไม่ให้เกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง หากเป็นบ้านชั้นเดียว งดใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเด็ดขาด […]
November 29, 2013
การดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ป้องกันไฟดูด หน้าฝน ป้องกันไฟดูด หน้าฝน มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในหน้าฝนเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่มีความชื้นมาก เช่น บริเวณบ่อปลา ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ตู้กดน้ำ เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น หากไฟฟ้ารั่ว โดยไม่ติดตั้งสายดิน และผู้ใช้งานไม่สวมใส่รองเท้า หรือมีเสื้อผ้าปกป้อง แล้วบังเอิญไป สัมผัสอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยไม่ตั้งใจ อาจทำให้กระแสไฟฟ้าไหลครบวงจร โดยไหลผ่านตัวคนลงสู่พื้น ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ และทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธี ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยนะครับ ดังนั้น เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรติดตั้งสายดิน! อันตราย จากการใช้ไฟฟ้า สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และ ปั๊มน้ำ ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องทำงานอยู่กับน้ำตลอดเวลา ดังนั้น การติดตั้งสายดิน มีไว้เพื่อเสริมความปลอดภัย ในการใช้ไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดไฟรั่วลงบนโครงเครื่องใช้ไฟฟ้า กระแสไฟที่รั่วออกมาจะใช้สายดิน เป็นเส้นทางในการไหลลงดิน แทนที่จะไหลผ่าน ร่างกายของมนุษย์ ในกรณีที่เผลอไปสัมผัส และสายดินไม่เพียงแค่ ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ถูกไฟฟ้าดูดเท่านั้น บางกรณีสายดินยังมีส่วนช่วย จัดการกับสัญญาณรบกวน ได้อีกด้วย ปั๊มน้ำ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทที่ต้องมีสายดิน ปั๊มน้ำ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทที่ต้องมีสายดิน เราจะเรียก เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล่านี้ว่าเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์ ติดตั้งทางไฟฟ้า ที่มีโครง หรือ เปลือกหุ้มเป็นโลหะ ซึ่งบุคคล มีโอกาสสัมผัสได้ต้องมีสายดิน เช่น ตู้เย็น , เตารีด , เครื่องซักผ้า , หม้อหุงข้าว , เครื่องปรับอากาศ , เตาไมโครเวฟ , กระทะไฟฟ้า , กระติกน้ำร้อน , เครื่องทำน้ำร้อน หรือน้ำอุ่น , เครื่องปิ้งขนมปัง ปั๊มน้ำทุกประเภท รวมถึงเครื่องมือช่างบางชนิด เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีความเสี่ยงสูง ควรที่จะ ติดตั้งสายดิน ป้องกันไฟดูด เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วแทนที่จะวิ่งไปสู่คน กระแสไฟก็จะวิ่งลงดินไปเลย สายดินมีความต้านทาน น้อยกว่าเรา กระแสไฟฟ้า มักจะวิ่งไปในสิ่งที่ ที่มีความต้านทานน้อยกว่า สายดินที่มีความใหญ่จะยิ่งดี ถ้าติดตั้งสายดิน ความลึกต้องไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ดินตรงนั้น ต้องมีความต้านทานต่ำด้วย ถ้าดินตรงนั้น มีความต้านทานสูง ก็ควรปักลึกลงไปอีก หรือมีทางแก้คือ ต้องโรยด่างบริเวณที่จะปักสายดิน เพื่อเพิ่มความต้านทานของดิน วิธีป้องกัน ที่ดีที่สุด ก่อนหน้าฝน ควรตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า ภายในบ้าน และ สายไฟ หากท่านใด อาศัยอยู่บ้านเก่า กว่า 10 ปี ขึ้นไป อุปกรณ์เหล่านี้ มีอายุการใช้งานนาน ฉนวนก็มักเสื่อมสภาพ ตามกาลเวลา ส่วนบ้านที่มี การติดตั้งปั๊มน้ำ ถ้าปลั๊กเสียบอยู่ต่ำ ยิ่งจะมีความเสี่ยงมาก หากพื้นบริเวณดังกล่าวเปียก ก็อาจเกิดไฟดูดได้ ขณะเดียวกัน เต้าเสียบภายในบ้าน […]