วิธีการไล่อากาศ กรณีน้ำหมดแท้งค์ (หรือใช้กับกรณีติดตั้งใหม่)

วิธีการไล่อากาศ กรณีน้ำหมดแท้งค์ (หรือใช้กับกรณีติดตั้งใหม่) KIKAWA มีทั้งเคล็ดลับ และ วิธีการแก้ปัญหา มาให้ทุกท่านได้ทราบอย่างกระจ่างแล้วครับ
Kikawa Tip
วิธีการไล่อากาศ กรณีน้ำหมดแท้งค์ (หรือใช้กับกรณีติดตั้งใหม่)
ปกติแล้ว น้ำจากท่อเมนประปา จะเติมน้ำให้เต็มถังเก็บน้ำ และตัดอัตโนมัติโดยลูกลอยประปา ที่ติดมาถังเก็บน้ำ กรณีน้ำขาดถัง จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นบ่อย แต่เป็นไปได้ ที่เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้น เช่น ลูกลอยประปาเสีย, น้ำจากท่อเมนประปาไม่ไหลเข้าถัง เป็นต้น
วิธีการแก้ปัญหา
วิธีการไล่อากาศ กรณีน้ำหมดแท้งค์ (หรือใช้กับกรณีติดตั้งใหม่) การให้ปั๊มกลับมาทำงานปกติ ก็คือ วิธีการไล่อากาศ ออกจากปั๊ม และท่อให้หมด โดยก่อนอื่นต้องเติมน้ำให้เต็มถังเสียก่อน (หรือรอให้น้ำมาและเติมเต็มถัง) เราเรียกวิธีการนี้ว่า การล่อน้ำ ครับ
วิธีการล่อน้ำ ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอน ที่ผู้ใช้งานปั๊มน้ำ หรือปั๊มน้ำอัตโนมัติทุกคน จำเป็นที่จะต้อง ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะขั้นตอนของการล่อน้ำ ดังกล่าวนี้ ถือเป็นขั้นตอนที่จะ สามารถช่วยควบคุมอัตราการไหล ของน้ำในบริเวณต่าง ๆ ภายในบ้าน ให้มีความแรงที่ สม่ำเสมอ และคงที่ เพื่อการใช้งานน้ำ สำหรับอุปโภค และบริโภค ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การล่อน้ำ (Priming) คืออะไร
การล่อน้ำ สำหรับปั๊มน้ำ หรือปั๊มน้ำอัตโนมัติ เป็นหนึ่งในวิธีการ ที่จะช่วยทำให้ปั๊มน้ำประเภทต่าง ๆ สามารถทำงานต่อไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่น้ำภายในระบบหายไป โดยการล่อน้ำ จะสามารถทำได้ โดยการเติมน้ำเข้าไป ภายในระบบของ เครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติ เพื่อให้มีน้ำ ไปทำการหล่อเลี้ยงชุดใบพัด ที่ถูกติดตั้งเอาไว้ด้านใน ให้สามารถสร้างแรงดูด ร่วมกับการไล่อากาศออกจากระบบ ซึ่งจะช่วยทำให้ปั๊มน้ำสามารถกลับมาดูดน้ำได้ตามปกติอีกครั้ง
วิธี การล่อน้ำ สำหรับแท้งก์น้ำ ที่ถูกติดตั้งบนดิน
- ทำการปิดวาล์ว ทางเข้าของปั๊มน้ำให้เรียบร้อย
- เปิดจุกล่อน้ำ
- ค่อย ๆ เปิดวาล์วทางเข้า เพื่อให้น้ำเกิดการไหลผ่าน เข้ามาภายในระบบ และช่วยไล่อากาศ ออกจากระบบของ เครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติ
- เมื่ออากาศหมดแล้ว ให้ทำการปิดวาล์วทางเข้าให้แน่น แล้วสำรวจดูว่า น้ำในท่อรับน้ำ มีปริมาณน้อยลงหรือไม่ หากไม่น้อยลง ก็สามารถทำการปิดจุกล่อน้ำได้ทันที
- เปิดวาล์วทางเข้าอีกครั้ง แล้วเดินเครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติ ตามปกติ
วิธีการล่อน้ำสำหรับแท้งก์น้ำที่ถูกติดตั้งใต้ดิน หรือระดับน้ำต่ำกว่าตัวปั๊มน้ำอัตโนมัติ
- เปิดจุกล่อน้ำ
- ค่อย ๆ เปิดฝาด้วยความระมัดระวัง พร้อมสังเกตดูว่า เช็กวาล์วอยู่ในตำแหน่งไหน โดยหากถอดออกมาแบบไหน ควรใส่กลับในรูปแบบเดิม
- ทำการเติมน้ำลงไป ในระบบปั๊มน้ำอัตโนมัติ เพื่อล่อน้ำ จากนั้น สังเกตระดับน้ำสักระยะหนึ่ง ว่าระดับน้ำลดลงไปหรือไม่ หากระดับน้ำไม่ลดสามารถเตรียมปิดฝาได้ทันที
- ใส่เช็กวาล์ว กลับเข้าไปในตำแหน่งเดิม ตามด้วยสปริง แล้วปิดฝา จากนั้นให้ทำการขันน็อต ยึดกลับไปตามเดิมให้พอตรึงมือ
- ปิดจุกล่อน้ำให้แน่น เพียงเท่านี้ ก็สามารถทำการเดิน เครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติได้ในทันที
- การล่อน้ำ (Priming) เป็นวิธีการ ทำให้ความดันในห้องสูบ ต่ำกว่าความดันของบรรยากาศ โดยการดูดอากาศ หรือไล่อากาศออก เมื่อความดันในห้องสูบลดลง น้ำก็จะไหลเข้ามาเอง แต่ต้องไม่มีการรั่วในท่อดูด นะครับ
5 วิธีการล่อน้ำ แบบต่างๆ มีดังนี้ สามารถเลือกทำได้ ตามความถนัด หรือตามความเหมาะสม ได้เลยครับผม
- ระดับน้ำ ทางดูดอยู่สูงกว่าปั๊ม
- ปลายท่อจ่าย อยู่ใต้ระดับของเหลว ซึ่งสูงกว่าปั๊ม
- ดูดอากาศออกจากห้องสูบ โดยตรง โดยใช้ปั๊มสูญญากาศ
- ล่อน้ำโดยใช้ถังล่อน้ำ (Priming Tank)
- ล่อน้ำโดยใช้ปั๊มสูญญากาศแบบมือโยก (Hand Primer)
#kikawathailand #ปั๊มนำ้เสียงเงียบ #พลังแห่งความเงียบ #ปั๊มนำ้พลังเงียบ
ติดตามข่าวสารดีๆ และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปั๊มน้ำ KIKAWA เพิ่มเติมได้ที่:
🔵 Facebook: Kikawa Thailand ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ปั๊มน้ำเสียงเงียบ ปั๊มน้ำบ้าน
🌐 Website: www.kikawathailand.com
🟢 Line ID: @crgroupthailand
📱 Call Center: 02-026-6280